Education Disruption review

Natthanun Chantanurak
6 min readApr 3, 2018

--

เมื่อวันที่ 31 มีนา ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมการประชุมเกี่ยวกับการศึกษา ที่มีหัวข้อน่าตื่นเต้นว่า Education Disruption (ปฏิวัติการศึกษาในโลกยุคดิจิตอล) ก็เลยคิดว่า ควรจะสรุปและแบ่งปันสิ่งที่ได้ฟัง ได้ดูมา ให้คนอื่นได้รับรู้ด้วย ที่สำคัญกว่านั้น เป็นการบันทึกความทรงจำและแรงบันดาลใจเก็บไว้อ่านหลังจากนี้ด้วย (สรุปเท่าที่จดและจำได้นะครับ)

Keynote Speech

Future of Education and Disruption in Education
Mr. Michael Staton, top 100 education innovators and Partner of Learn Capital.

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

Michael ได้พูดถึง บ. ของเขาว่า เป้าหมายหลักคือการลงทุนใน EdTech เพื่อปฏิรูปการเรียนและการศึกษา สิ่งเหล่านี้เกิดจากความไม่พึงพอใจระบบการศึกษาในปัจจุบัน ซึ่งเขาแยกให้เห็นว่า การ Reform นั้นเกิดได้ 2 ช่องทาง ทางแรกคือ แก้ผ่านระบบ การเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากมาก อีกช่องทางหนึ่งคือ Startup ซึ่งคล่องตัวกว่า Michael ได้โชว์ Startup ด้านการศึกษาที่ Learn Capital ลงทุนอยู่ ซึ่งดูได้จากลิ้งนี้เลยครับ http://learncapital.com/portfolio/

Michael ได้พูดถึงการเข้าถึงตลาดหรือกลุ่มเป้าหมาย 2 วิธีคือ Value Innovation กับ Disruptive innovation (ไว้จะไปหาอ่านเพิ่มเติม) แล้วก็แนวคิดการสร้าง Startup อีกมากมาย แต่ที่กระแทกใจสุดน่าจะเป็นเรื่องอาชีพในอนาคต ที่จะเหลือแค่ 2 ประเภท คือ People who tell the Machine what to do กับ People who are told by the Machine what to do (ซึ่งทำให้ผมต้องกลับมาคิดว่าเราจะเตรียมลูกหลานของเราอย่างไร)

Michael ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า ให้หา moonshot ของตัวเอง (ความทะเยอทะยานที่จะทำบางสิ่งบางอย่าง โดยไม่ต้องรอให้พร้อม โดยยังไม่ต้องมีข้อมูลครบ ไม่ได้คิดถึงเป้าหมายอันใกล้ แต่คิดถึงสิ่งที่ไกลกว่า)

“Find your moonshot”. Michael Staton

Thailand Education Landscape — Challenges and Opportunities
Dr. Somkiat Tangkitvanich, President of TDRI

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

ดร. สมเกียรติ เปิดเรื่องมาด้วยคะแนน O-Net และ PISA (วิชาคณิต, วิทย์) ที่อ่อนแอของเด็กไทย ในหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงทักษะในการอ่านที่อยู่ในระดับวิกฤต นำไปสู่คำถามที่ว่า เราจะเตรียมเด็กของเราอย่างไรในยุคที่เทคโนโลยี จะมาแทนในหลายอาชีพ และทำให้คนเกือบ 30 ล้านคน (ไม่แน่ใจตัวเลข) ต้องตกงาน

ความท้าทายของการปฏิรูปการศึกษาไทย มี 3 องค์ประกอบ คือ คุณภาพ , ความเท่าเทียม (การเข้าถึงการศึกษาไม่ขึ้นกับฐานะ) และประสิทธิภาพ (บริหารทรัพยากรที่จำกัด) ซึ่งการปฏิรูปนี้ต้องใช้เวลา แม้ว่าหลายๆ ปีที่ผ่านมามันจะดูเหมือนวนลูปอยู่กับการเปลี่ยนนู่นนี่นั่น โดยไม่ผลลัพธ์ไม่ได้ดีขึ้นหรืออาจจะแย่ลง แต่เราต้องคิดว่างานการศึกษานั้นเหมือนหนังเรื่อง Grounghog day ที่สุดท้ายแล้วเราก็จะหาทางออกจากลูปนี้ได้ในที่สุด

ดร. สมเกียรติได้ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดได้ 2 ทาง คือจาก บนลงล่าง ปัญหาคือ รมต. มีเวลาอยู่ในตำแหน่งน้อย พอเปลี่ยนคน ก็เปลี่ยนนโยบาย (มีโครงการที่หลงเหลือจากนโยบายเก่ามากมาย ทำให้ครูไม่มีเวลาทุ่มเทการสอน) อีกทางคือจาก ล่างขึ้นบน คือจากภาคประชาชนและเอกชน แต่ปัญหาก็คือ Scale ยาก

ดร. จึงเสนอแนวคิดเขตการศึกษาพิเศษ (Education Sandbox) ที่คล้ายกับเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อทดลองวิธีการจัดการการศึกษาโดยที่ไม่กระทบกับการศึกษาส่วนกลาง (เปลี่ยนครั้งนึง กระทบทั้ง หลักสูตร, การประเมินผล, เอกสารประกอบการเรียน ฯลฯ) ซึ่งเขตพิเศษนี้จะต้องมีอิสระ และมีการพัฒนาบุคลกรเพื่อพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง และการปฏิรูป

สิ่งสุดท้ายคือการปรับทัศนคติเกี่ยวกับการศึกษา ตั้งแต่ระดับนักเรียน (ต้องมีความฝัน) พ่อแม่ (ต้องเลิกคิดว่าลูกต้องเก่งกว่าคนอื่น) นายจ้าง (ต้องช่วยภาคมหาวิทยาลัยเพื่อเตรียมพร้อม) ครูอาจารย์ (ต้องพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง) นักการเมือง (ต้องดำเนินนโยบายที่ต่อเนื่อง มากกว่าเปลี่ยนไปเรื่อยๆ) ซึ่งทุกฝ่ายต้องช่วยกัน เพราะงานการศึกษาคือ

“การพัฒนาสมบัติที่มีค่าที่สุดของผู้ปกครอง” Dr. Somkiat Tangkitvanich

Creating The Inventor of Tomorrow
Mr. Mark Pavlyukovskyy, CEO of Piper

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

Mark บอกว่า Piper เกิดมาด้วย 3 หลักการทำงานของเขาคือ

  1. Start with WHY
  2. Just do it
  3. Iterate

หลักๆ แล้ว Talk นี้เป็นการบรรยายที่มา และสรรพคุณของการเอา Technology เข้ามาในวงการการศึกษา รวมถึงเคสที่ประสบความสำเร็จ ถึงขนาดที่ Elon Musk ซื้อไปให้ลูกใช้ถึง 6 เครื่อง และการขยายโอกาสไปยังพื้นที่ที่ห่างไกล(แอฟริกาใต้)

แม้ว่าจะเป็นการโฆษณาขายของเสียส่วนใหญ่ แต่ประโยคหนึ่ง (ของ Leila Janah) ที่ประทับมาก คือ

“Talent is evenly distributed, but Opportunity is not”. Mark Pavlyukovskyy’s presentation

Creating The Inventor of Tomorrow
Mr. Luis Pinto, Partner of Learn Capital

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

คุณ Luis ได้เปิดประเด็นเกี่ยวกับปัญหาตัวชี้วัดทางการศึกษา และข้อมูลความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนไป จากความเชื่อที่ว่า การศึกษาที่สูง ทำให้งานดี (ในยุค 80s) ไปสู่การตกงานแม้จะมีปริญญาแล้วก็ตาม

ที่จริงคุณ Luis ได้พูดประเด็นที่สำคัญของการเตรียมพร้อมด้านการศึกษาไว้หลายข้อ แต่หลักๆ คือการเลิกคิดว่าการศึกษาจะต้องเกิดขึ้นในห้องเรียนเท่านั้น แต่ที่น่าสนใจประการหนึ่งคือแนวคิดเกี่ยวกับการจ้างงานในรูปแบบ Apprentice-For-Hire (ของ Learners Guild) กับ Talent-as-a-Service (ของ Andela) ซึ่งเป็นตัวอย่างของแนวคิดการจ้างงาน (ส่วนมากจะเป็นสาย Developer) ที่ไม่ต้องพึ่งพาวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัย

เขายังพูดถึงแนวคิด Unbundle and ReBundle Education ซึ่งผมก็ยังไม่เข้าใจเท่าไหร่ ไว้จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะดูแล้วน่าสนใจมากๆ (หรือใครพอจะอธิบายได้ รบกวนด้วยครับ)

คุณ Luis ได้ทิ้งท้ายไว้ว่า การศึกษายุคใหม่นั้น ต้อง “Let they build what they like” แล้วก็อย่ากลัวความล้มเหลว ต้อง “Let them fall” หน้าที่ของเราคือต้อง “Help them up again”

“Let them fall, our job is to Help them up again”. Mr. Luis Pinto

Future of Corporation and Work

Future of Corporation
Mr. Somkid Jiranuntarat, Chairman of Kasikorn Business-Technology Group (KBTG)

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

หลักๆ แล้ว คุณสมคิด ชี้ให้เห็นว่า Trend ของ เทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยเฉพาะฝั่ง Bank จะเน้นไปที่ 3 หัวข้อ คือ

  1. Mobile ที่จะเป็นสิ่งที่จำเป็นมากขึ้นเนื่องจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค
  2. Blockchain ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการเงินการธนาคาร
  3. AI ที่จะเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น

Future of Work
Mr. Saravoot Yoovidhya, CEO of TCP Group

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

คุณสราวุฒิได้ชี้ให้เห็นถึงภัยเทคโนโลยีต่อธุรกิจที่มองไม่เห็น เช่นการมาของรถยนต์อัตโนมัติ อาจส่งผลให้ยอดขายกระทิงแดงตกได้ (เพราะลูกค้าหลักคือ คนขับรถ) ธุรกิจก็ต้องปรับตัว และการที่เทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มขึ้น ต้นทุนในการผลิตก็อาจจะลดลงได้ แต่ผลที่ตามมาคือ คนอาจจะตกงานมากขึ้น บ. ก็ลำบากใจ ว่าจะทำยังไงกับเรื่องเหล่านี้ (ถ้าไม่ทำ บ. อื่น ที่ทำก็จะมีต้นทุนที่ถูกกว่า) ทั้งนี้ TCP ไม่เคย Layoff พนักงานมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์ของ บ.

คุณสราวุฒิได้เสนอว่า แทนที่จะต้องเลือกว่า จะเป็นคนที่บอก Machine ให้ทำอะไรหรือคนที่ให้ Machine บอกว่าต้องทำอะไร อย่างใน session ก่อนหน้า ทำไมเราไม่สอนคนของเรา ลูกหลานของเรา ให้ทำงานร่วมกับ Machine ได้ เราต้องรู้ว่า Machine ทำงานอย่างไร ไม่ใช่เห็นว่า บ. อื่นใช้เทคโนโลยีนี้ แล้วก็เอามาใช้เลย

ตัวอย่างหนึ่งคือการที่ยอดขายกระทิงแดงตกโดยไม่รู้สาเหตุในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง สืบไปสืบมา เพราะ บ. เปลี่ยนระบบการสั่งของ เป็นแบบที่ฉลาดขึ้น โดยจะสั่งของอัติโนมัติ เมื่อของขาด แต่ปรากฏว่าระบบไม่สั่งกระทิงแดงเลย เพราะพนักงานไม่ได้ใส่ข้อมูลลงไปในระบบ) ซึ่งกรณีเช่นนี้เราก็ต้องรู้ว่าเทคโนโลยีทำงานอย่างไร ไม่ใช่เชื่ออย่างเดียว

Future of Work and Future of Workforce Panel

Talk นี้คือการเอาทั้งสองท่านข้างต้น และ Miss Arweemas Sirisaengtaksin, Team Lead, Express Solutions (ExpresSo), PTT Public Company Limited มาตอบคำถามเกี่ยวกับทิศทางการศึกษาในมุมมองของ Corperate

  • คำถามแรก: สกิลอะไรที่จำเป็นสำหรับการปรับตัว
    KBTG
    : รู้ทัน Technology, มี Empathy เพื่อเข้าใจลูกค้า
    PTT: Creativity, Learning ability
    TCP: Fast Learning, Skill การทำงานกับ Machine
  • คำถามที่สอง: อยากฝากอะไรถึงมหาวิทยาลัย
    KBTG
    : ต้องปฏิวัติ สร้างคนที่พร้อมทำงาน ไม่ใช่แค่ให้ความรู้ ต้องสร้างคนตามที่ตลาดต้องการ
    PTT: อยากให้มหาวิทยาลัยกับ บ. ทำงานร่วมกันตั้งแต่ต้น ไม่ใช่แค่มาทำตอนฝึกงาน
    TCP: ต้องสอนเด็ก Coding โดยเปลี่ยนความคิดว่า Coding ไม่จำเป็นต้องเป็น Programmer รวมถึงดูความต้องการของตลาดด้วย
  • คำถามที่สาม: อยากฝากอะไรถึงรัฐบาล
    KBTG
    : ดูคุณภาพของคน และดูโลกของความเป็นจริง (ไม่เข้าใจเท่าไหร่)
    PTT: อยากได้ผู้นำ เช่น รมต. ที่มีวิสัยทัศน์ และอยู่ได้ยาวๆ
    TCP: อยากให้เอกชนร่วมทำด้วย เพราะมีศักยภาพที่ทำได้ดีกว่า

TED Talk Style

Disrupting and Driving Efficiency in School Operation
Mr. Wicharn Manawanitjarern, CEO of Taamkru, Asia’s Most Promising Startups in 2014.

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

บ. Taamkru ปัจจุบันได้ทำ Application เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในโรงเรียน เช่น Application สำหรับการตรวจข้อสอบโดยใช้ Mobile และแอปสำหรับการเช็คชื่อนักเรียนจาก QR Code ซึ่งเขาบอกช่วยประหยัดเวลาของคุณครูได้ถึง 90% และช่วยลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นต่างๆมากมาย

Technology for All: Bridging Technology Skill Gaps in the Age of Digital Disruption
Mr. Virot “Ta” Chiraphadhanakul, Founder of Skooldio and ex-Data Scientist, Facebook US.

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป องค์กรหรือบ. ก็ต้องปรับตัวกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (บางบ. ทำไม่ได้ก็ล้มไป เช่น Toys R Us) จะทำยังไงให้องค์กรเกิด Digital Transformation แม้ว่าจะทำ แต่ก็อันหาคนไม่ได้ หรือมี ก็มีทักษะที่ไม่ตรงตามต้องการ บางทักษะไม่มีสอนในมหาวิทยาลัย การเรียนออนไลน์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเติม Gap ตรงนี้

LIFELONG Learning เป็น Concept การเรียนรู้ที่จำเป็น โดยในแต่ละช่วงวัย ก็จะมีการเรียนรู้ที่ต่างกัน

  • ปี 1–2 (Freshman + Sophomores) ต้องหาคำตอบว่า อยากทำอะไร แล้วทักษะอะไรที่จำเป็นต่ออาชีพที่อยากทำ (Career Awareness)
  • ปี 3–4 (Juniors + Seniors) ต้องตอบให้ได้ว่า พร้อมที่จะทำงานหรือยัง ทักษะที่มีพอหรือยัง (Career Ready)
  • จบใหม่ (New Hires) มุมมององค์กร จะทำยังไงให้พนักงานใหม่เรียนรู้ให้เร็วที่สุด และทำงานมี Productivity มากที่สุด(On boarding)
  • พนักงานปัจจุบัน (Staff) พนักงานปัจจุบันที่เข้าธุรกิจดี องค์กรจะทำยังไงเพื่อเพิ่มทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เขาด้วย (Reskill)
  • ผู้บริหาร (Executives) ต้องถามตัวเองว่า เราเข้าใจเทคโนโลยีดีพอหรือยัง (Envision)

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีแนวคิดที่ช่วยให้การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเรื่องง่าย เช่น Personalized Feedback, Active Learning (HBX, EdX, Micro degree), Online Coding (with realtime feedback), Peer to peer Learning (มีเกือบทุก platform)

อีกประเด็นหนึ่งคือ ปริญญาบัตร จะค่อยๆหมดความสำคัญลง โดยเฉพาะสาย Coding ตัวอย่างเช่น nanodegree ของ Udacity ที่เป็น Partner กับบริษัทใหญ่ๆ เพื่อส่งคนเข้าบ.

การจะสร้าง Innovation นั้น จะต้องบูรณาการร่วมกันระหว่าง Business, People และ Technology เพื่อให้ได้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นไปได้ ใช้ได้จริง และยั่งยืน

ตอนนี้พี่ต้าสร้าง Platform ที่ชื่อว่า Skooldio เพื่อเตรียมความพร้อมให้คนที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีทักษะเพียงพอต่องานจริงๆ โดยเฉพาะทักษะที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี

“เทคโนโลยีเป็นเรื่องของทุกคน ทุกคนต้องถามตัวเองว่า ทักษะที่เรามีเพียงพอหรือยัง ทักษะอะไรที่ทำให้เราทำงานดีขึ้น และทักษะอะไรที่เป็นที่ต้องการของโลก”
Mr. Virot “Ta” Chiraphadhanakul

The pursuit of lifetime employability in the disruptive world
Mr. Titipong Pisitwuttinan, CEO of SkillLane, one of the top EdTech startup of Thailand.

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

พี่บิ๊กเริ่มด้วยคำถามที่ว่า ถ้าระเบิดนิวเคลียร์ลง ระหว่างช้างกับแมลงสาบ อะไรจะรอด คำตอบคือแมลงสาบ เพราะแมลงสาบ ปรับตัวได้ดี เพราะจะนั้น ในโลกของธุรกิจ ธุรกิจไหนที่ปรับตัวได้เร็วก็จะรอด ธุรกิจไหนปรับตัวไม่ได้ ก็ต้องล้มหายตายจากไป (ตัวอย่าง Uber, Grab)

ในเรื่องของทักษะการทำงาน แม้บริษัทจะเตรียมความพร้อม หรือเตรียมการเพื่อเพิ่มทักษะให้กับพนักงานยังไง แต่ตัวพนักงานเองก็ต้องรับผิดชอบตัวเองด้วย

Lifetime Employability เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมีในยุคนี้ ต้องคอยพัฒนาทักษะใหม่ หรือทักษะที่จำเป็นในการทำงานตลอดเวลา Career Path ในอดีต หรือของ บ. อาจจะไม่เพียงพอต่อไปแล้ว เราควรจะสร้าง Career Path ตัวเอง พี่บิ๊กเลยสร้าง SkillLane ขึ้นมา เพื่อให้คนที่อยากพัฒนา self career Path มีช่องที่จะแสวงหาความรู้และทักษะเหล่านั้น หมดยุคที่พนักงานต้องรอให้คนอื่นบอกว่าต้องมีทักษะอะไรแล้ว พนักงานจะต้องขวนขวายด้วยตัวเอง

“แม้แมลงสาบจะปรับตัวได้ (เป็นแมลงสาบมีกล้าม) แต่องค์ใหญ่ก็สามารถปรับตัวให้กลายเป็นช้างมีปีกได้เช่นกัน”. Mr. Titipong Pisitwuttinan

Creating Teacher of Tomorrow
Miss Viria Vichit-Vadakan, CSO of Learn Corporation

ภาพจาก https://www.facebook.com/DisruptUniversity/

พี่แตวอธิบายพัฒนาการของการศึกษา ไล่มาตั้งแต่ยุคหิน (ผ่านพ่อแม่) ยุคเกษตรกรรม (แบบแผนมากขึ้น) จนมาถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อ 200 ปีก่อน จึงเกิดสถาบันการศึกษาที่เรียกว่า “โรงเรียน” ขึ้น เพื่อสร้างแรงงานป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ต้อง limit creativity และ innovation เพื่อให้ได้คนบล็อคเดียวกันหมด แต่ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราต้องมาคุยกันใหม่ว่า การศึกษาในยุคนี้ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งระบบการศึกษาปัจจุบัน สร้างความกลัวและกักขังคนไว้ข้างใน ครูกลัวที่จะสอนไม่ทัน เด็กกลัวที่สอบไม่ได้ เราต้อง Free Mindset ครู นักเรียน โรงเรียน เปลี่ยน problem เป็น possibility เพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน

แม้เทคโนโลยีจะมีบทบาทมากขึ้น แต่ครูก็ยังเป็นส่วนสำคัญ เราต้องพัฒนาครูให้มากกว่าการให้ความรู้ ต้องให้ครูเป็น

  • Innovator (ครูคิดค้นนวัตกรรมในการแก้ปัญหาได้)
  • Designer (ให้ครู design การเรียนรู้ให้เหมาะกับเด็กแต่ละคนเอง)
  • Coach (ครูต้องตั้งคำถามให้เด็กคิดเป็น)
  • Facilitator (ให้ครูเป็นผู้สร้างพื้นที่การเรียนรู้)
  • Digital Enabler (ครูต้องดึงจุดแข็งของเทคโนโลยีเข้ามาในห้องเรียน เพื่อให้ครูได้พัฒนาและเด็กก็มีทางเลือกมากขึ้น)

ปัญหาการศึกษาไม่ใช่ความผิดใคร “การศึกษา เป็นโจทย์ประเทศไทย” Educator กับ Employer ต้องร่วมมือกัน ต้องเอาทุกฝ่ายมา Design ร่วมกัน

หลังจากนั้น พี่แตวก็แบ่งปันประสบการณ์ การไปเรียนที่ standford ที่อาจารย์ให้โจทย์ว่า ไปเรียนอะไรก็ได้ที่ไม่มีสอนในไทย แล้วค่อยเลือกว่าอยากเป็นอะไร รวมทั้งประสบการการนำเทคโนโลยีเข้าไปในห้องเรียน ทั้ง Learn Education, LearnX (สอนภาษาอังกฤษ) และ TrainKru

Teacher of Tomorrow จะเป็นไปได้ เราทุกคนต้อง Free เวลาของครู และเกิดจากความร่วมมือของเราทุกคน ระบบโรงเรียนจะต้องถูก Disrupt ด้วย ระบบที่เอื้อต่อความหลากหลาย ที่ทุกคนจะต้องช่วยกัน Design เพื่อจะตอบโจทย์ในยุค Digital Disruption

ความเห็นส่วนตัว: Talk นี้ของพี่แตว น่าจะเป็นการปิด session TED Talk style ที่ดีที่สุด เนื้อหาอัดแน่นไปด้วยประสบการณ์ในวงการการศึกษา เหมือนเอาสิ่งที่พี่แตวมี มา unzip แล้วหยิบมาส่วนเล็กๆ เกี่ยวกับครูมาขยายให้ฟัง เป็นการปิดที่ประทับใจ กระทบใจ และสร้างแรงบันดาลใจที่ดีมาก สำหรับคนที่ต้องการ Disrupt การศึกษา

Panel of Thai EdTech Startups

สุดท้ายเป็นการสัมภาษณ์ Speaker ใน Session TED Talk Style โดยท่ีพี่ๆ แต่ละคนยังอายุน้อยๆ อยู่ทั้งนั้นเลย (มีคนบอกว่าไม่เกิน 35 ครับ) ซึ่งการสัมภาษณ์นี้ก็จะเป็นคำถามเกี่ยวกับมุมมองทางการศึกษาเสียเป็นส่วนใหญ่ ขอสรุปคำถามคำตอบสั้นๆแล้วกันนะครับ เพราะจำรายละเอียดทั้งหมดไม่ได้

  • คำถามแรก: ปัญหาที่เร่งด่วนของการศึกษาไทย
    พี่แตว
    : เรา (ทุกๆ ฝ่าย) ไม่เคยมานั่งถกกันว่า เราต้องการคนแบบไหน ทักษะที่ต้องการคืออะไร เพราะต่างคนต่างมองในมุมตัวเอง
    พี่ต้า: กระบวนการในระบบต้องปรับตัวให้เร็วกว่านี้ (บางกระบวนการช้ามาก) และการศึกษาในระบบยังขาดมุมองจากข้างนอก
    พี่บิ๊ก: เด็กเรียนเพื่อสอบ โดยที่ไม่ได้ความรู้
  • คำถามที่สอง: เทียบกับการศึกษาต่างประเทศที่ไปเรียนมา ประเทศไทยต้องทำอะไรบ้าง กว่าจะไปถึงจุดนั้น
    พี่ต้า
    : เมืองนอก อยากเรียนอะไรก็เรียนได้หมด แต่ถ้าอยากจบวุฒินี้ ก็ต้องเรียนตามหลักสูตรได้ ไทยยังขาดที่ให้เด็กค้นหาตัวเอง ต้องเลือกแผนตั้งแต่ ม ปลาย
    พี่แตว: ต้องลดความเหลื่อมล้ำ (70% ของเด็ก ไม่ได้เรียนมหาลัย) ลดการใช้คะแนนตัดสินเด็ก ใช้ Technology เป็น Fast track ให้กับเด็กที่ขาดโอกาส รวมทั้งต้องเปลี่ยน mindset ในการจ้างงาน(การเลือกจาก มหาลัย) และไม่มีอาชีพไหนดีกว่ากัน
    พี่บิ๊ก: บทบาทครูต้องเป็น Facilitator มากกว่า Lecturer และให้นักเรียนออกความเห็น และใช้ความรู้มาต่อยอด
  • คำถามที่สาม: ทำไมถึงมาทำ EdTech
    พี่บิ๊ก
    : เป็นลูกค้าประจำของ Online Course เลยอยากให้เกิดในไทย
    พี่แตว: อยากสร้าง impact ให้สังคม การศึกษาเป็นการปิด Gap ของความเหลื่อมล้ำ และ Tech สามารถ Accelarate impact ได้มาก
    พี่ต้า: ชอบสอนหนังสือครับ ชอบหาโจทย์ หาเทคนิคแปลกๆ มาสอน การศึกษาในระบบบางทีก็ไม่จูงใจเท่าที่ควร
  • คำถามที่สี่: อยากฝากอะไรให้คนในวงการการศึกษา หรือนักลงทุน
    พี่บิ๊ก
    : อยากให้ให้โอกาสได้เข้าไปช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่รู้จะเข้าไปช่องทางไหน
    พี่ต้า: ต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร เป็นสิ่งส่วนที่ส่งผลอย่างมากในการศึกษา
    พี่แตว: ควรจะร่วมมือกัน ไม่ใช่แยกกันทำคนละทิศคนละทาง ควรจะช่วยเหลือกัน ใช้จุดแข็งมาเสริมกัน เอา Talent มารวมกัน มาโตไปด้วย

เสียดายมากที่ไม่ได้อยู่ใน Session สุดท้าย แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า คุ้มเวลามาก ที่ได้มา Conference นี้ ได้เห็นแสงที่ปลายอุโมงค์ ถึงแม้ว่าจะไม่รู้ว่าการเดินทางในอุโมงค์นี้จะนานแค่ไหน แต่การที่ได้รู้ว่า มีหลายคน หลายส่วน กำลังช่วยกรุยทาง เพื่อให้การศึกษาไทย ไปเจอแสงสว่างที่อีกฟากของอุโมงค์ ก็ทำให้ใจชื้นขึ้น และมีกำลังใจเพิ่มขึ้นว่า ประเทศเรายังมีหวัง ขอบคุณพี่กระทิงที่เป็นคนสำคัญที่ทำให้เกิดงานนี้

ขอฝากไว้ด้วยประโยคกินใจของพี่แตว

“การศึกษา เป็นโจทย์ประเทศไทย”

--

--

Natthanun Chantanurak
Natthanun Chantanurak

Written by Natthanun Chantanurak

General Manager @ Skooldio Tech, Ex-Data Engineer at agoda, MSc and B.Eng from Com-Eng Chula

No responses yet